รายการค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคลธรรมดาปี 2560

รายการที่ลดหย่อนได้อัตราค่าลดหย่อน
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว฿60,000
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรสคนละ ฿60,000 และกฎหมายอนุญาตให้มีได้สูงสุด 1 คน
3. ค่าลดหย่อนบุตรคนละ ฿30,000
4. ค่าลดหย่อนบิดามารดาคนละ ฿30,000
5. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพคนละ ฿60,000
6. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิตตามที่จ่ายจริงแต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน ฿100,000
7. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿15,000
8. เบี้ยประกันสุขภาพตนเองตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿15,000 และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน ฿100,000
9. ค่าซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน ฿500,000
10. ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)/กบข./กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน ฿500,000
11. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน ฿200,000 และเมื่อรวมกับข้อ 10. แล้วต้องไม่เกิน ฿500,000
12. เงินประกันสังคมตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿9,000
13. โครงการบ้านหลังแรก 2558-2559สูงสุดปีละ ฿120,000 เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี (เฉพาะคนที่ซื้อบ้านหลังแรกระหว่าง 13 ต.ค. 2558 – 31 ธ.ค. 2559)
14. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿13,200 และเมื่อรวมกับ ข้อ 11. และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วต้องไม่เกิน ฿500,000
15. ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัยตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿100,000
16. ช้อปช่วยชาติตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿15,000
17. ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิตเพิ่ม 1 เท่าของที่จ่ายจริง เมื่อมีเงินได้จากค่าเช่าค่าวิชาชีพอิสระค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ หรือ เงินได้การประกอบธุรกิจอื่นๆ
18. ค่าซ่อมบ้านน้ำท่วมตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿100,000 (เฉพาะค่าซ่อมบ้านระหว่าง 1 ธ.ค. 2559 ถึง 31 พ.ค. 2560 หรือระหว่าง 5 ก.ค. 2560 ถึง 31 ธ.ค. 2560)
19. ค่าซ่อมรถน้ำท่วมตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ฿30,000 (เฉพาะค่าซ่อมรถระหว่าง 1 ธ.ค. 2559 ถึง 31 พ.ค. 2560 หรือระหว่าง 5 ก.ค. 2560 ถึง 31 ธ.ค. 2560)
20. เงินบริจาคน้ำท่วม 25601.5 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
21. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
22. เงินบริจาคทั่วไปตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

รายการยกเว้นภาษีแบบพิเศษ

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย
  • หลายคนมักเข้าใจผิดว่าจำนวนค่าลดหย่อนภาษีคือเงินคืนภาษีที่จะได้รับเลย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ค่าลดหย่อนภาษีจะช่วยประหยัดภาษีได้จริง แต่จะได้เงินคืนภาษีมากหรือน้อยเท่าไหร่นั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนรายได้และอัตราภาษีของแต่ละคนด้วย เช่น ถ้ามีเงินได้สุทธิเกิน 4 ล้านบาทต่อปี จะเสียภาษีในอัตรา 35% แสดงว่าถ้าได้รับค่าลดหย่อน ฿1,000 จะประหยัดภาษีเพิ่มได้ ฿350 แต่ถ้ามีเงินได้สุทธิไม่เกิน ฿150,000 จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี แบบนี้ต่อให้ได้รับค่าลดหย่อน ฿1,000 ก็ไม่ช่วยให้ประหยัดภาษีเพิ่มแต่อย่างใด เพราะไม่ได้เสียภาษีแต่แรกอยู่แล้ว
  • หลายคนมักเข้าใจผิดว่าสิทธิประโยชน์ภาษีจำนวน ฿190,000 ของผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไปหรือผู้พิการนั้นเป็น “ค่าลดหย่อน” แต่ความจริงแล้วกฎหมายระบุว่าสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเป็นการยกเว้นรายได้ให้ผู้มีเงินได้อายุ 65 ปีหรือผู้พิการสำหรับรายได้ ฿190,000 แรก ดังนั้นสิทธิประโยชน์นี้จึงควรเรียกว่า “เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี” มากกว่า
  • หลายคนเข้าใจผิดว่าค่าลดหย่อนเมื่อจ่ายไปแล้วจะเสียภาษีน้อยลงตามจำนวนที่จ่ายไป เช่น ใช้สิทธิลดหย่อน ฿1,000 แล้วจะได้เสียภาษีถูกลง ฿1,000 เลย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะจะเสียภาษีน้อยลงหรือได้เงินคืนภาษีเพิ่มมากขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้และอัตราภาษีของแต่ละคนด้วย
  • หลายคนสับสนระหว่างคำว่า ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ว่าเป็นคำเดียวกัน แต่ความจริงแล้วสองคำนี้มีความหมายต่างกัน กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายคือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายมอบให้โดยขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ที่คุณได้รับ เช่น มีรายได้จากงานประจำจะหักค่าใช้จ่ายได้แบบนึง แต่ถ้ามีรายได้จากดอกเบี้ยจะหักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลย ในขณะที่ค่าลดหย่อนคือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฎหมายมอบให้โดยขึ้นอยู่กับสถานภาพและภาระของตัวผู้เสียภาษีคนนั้นๆ เช่น มีภาระดูแลพ่อแม่ มีภาระจ่ายดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัยหรือจ่ายเบี้ยประกันชีวิต เป็นต้น