จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือเป็นบุคคลธรรมดา อย่างไหนดีกว่า

ก่อนตัดสินใจจดทะเบียน เพื่อความมั่นใจ เราจะมาพิจารณากันเป็นประเด็นๆไป แล้วคุณจะหาคำตอบได้ด้วยตัวคุณเอง
1.คุณจำเป็นต้องอาศัยความเชื่อถือที่ลูกค้ามีต่อธุรกิจของคุณหรือไม่? (ในกรณีที่เป็นลูกค้าใหม่ แต่หากเป็นลูกค้าที่ค้าขายกันมานานแล้วประเด็นนี้คงข้ามไปได้เลย)
ข้อพิจารณา หากคุณตอบว่าจำเป็น ตอบได้เลยว่า ควรจดเป็นบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เพราะหากคุณต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นแก่ลูกค้าเป้าหมายแล้วละก็ คงไม่มีทางหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น เพราะจะทำให้ลูกค้าเป้าหมาย บุคคลทั่วไปเกิดความไว้วางใจได้ว่า เป็นบริษัทฯ มีความมั่นคง น่าเชื่อถือ คงไม่ใช่มาทำธุรกิจเล่นๆ หรือแม้แต่เจ้าหนี้การค้า หรือคนที่เราจะไปซื้อของหรือไปว่าจ้างให้เขามาทำงานให้ แม้แต่จะจ้างพนักงานให้มานั่งทำงานกับเรา เมื่อเห็นว่าเป็นบริษัท ก็จะให้ความเชื่อถือกันตั้งแต่แรกเลย ส่วนจะไว้วางใจกันมากน้อยเพียงไร เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
2.ข้อดีข้อเสียที่ควรพิจารณา  ระหว่างนิติบุคคล กับ บุคคลธรรมดา
สรุปข้อดีข้อเสียระหว่างการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กับการประกอบกิจการแบบบุคคลธรรมดา
รายการการเป็นนิติบุคคลการเป็นบุคคลธรรมดา
จำนวนหุ้นส่วนเป็นการเข้าร่วมกันประกอบธุรกิจ อย่างน้อย2คนสำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัด และต้องมีผู้เข้าหุ้นอย่างน้อย 3 คนสำหรับบริษัทจำกัดเป็นการดำเนินการโดยบุคคลคนเดียว
การระดมเงินทุนมีการระดมเงินทุนจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น ทำให้สามารถมีเงินทุนหมุนเวียนในกิจการได้สูงมีเงินทุนเพียงเท่าที่ตนเองลงไป
การระดมความคิดมีการระดมความคิดมันสมองเข้ามาใช้ในการดำเนินกิจการ ทำให้เกิดความหลากหลายในความคิดและมุมมอง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นต้นเหตุของความล่าช้าและขัดแย้งทางความคิดคิดเอง ทำเอง ตัดสินใจได้รวดเร็ว ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานะการณ์โดยแทบจะทันทีทันใด
การตัดสินใจในการบริหารงานมีคณะกรรมการบริหาร หากต้องมีการตัดสินใจที่สำคัญๆ ต้องขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่ว่าจะงานเล็ก หรือประเด็นใหญ่
การแบ่งจ่ายผลกำไรขาดทุนแบ่งตามสัดส่วนการเป็นหุ้นส่วน สำหรับห้างหุ้นส่วนฯ และแบ่งจ่ายโดยการจ่ายเงินปันผล ตามจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคนว่าถืออยู่กี่หุ้น สำหรับบริษัทฯรับผลกำไรขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว
การเสียภาษีเป็นการเสียภาษีจากยอดกำไรของของกิจการ หากในการดำเนินการมีกำไร ก็จะต้องเสียภาษี แต่หากขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี โดยหลักการคือการนำเอารายได้ หักค่าใช้จ่าย ที่เหลือคือกำไรที่ต้องนำมาเสียภาษีเป็นการเสียภาษีแบบเหมาจ่าย โดยการนำรายได้ของปีนั้นๆมาหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายตามแต่ลักษณะธุรกิจ เมื่อหักแล้วเหลือเท่าไรค่อยนำเอามาคำนวนเพื่อเสียภาษีแม้ในปีนั้นขาดทุน ก็ต้องเสียภาษี
อัตราภาษีเป็นไปตามแบบประเภทรายได้หรือทุนจดทะเบียน ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท เรียกว่าเป็นธุรกิจประเภท SMEsSMEs (จดทะเบียนบัญชีขุดเดียว)อัตราภาษี ไม่เกิน 300,000 ยกเว้นภาษี เกิน 300,000 บาท เสียภาษี 10 %SMEs (ไม่จดทะเบียนบัญชีชุดเดียว)ไม่เกิน 300,000 ยกเว้นภาษี เกิน 300,000 – 3,000 ,000 บาท เสียภาษี 15 % เกิน 3,000,000  เสียภาษี 20%ประเภทธุรกิจทั่วไป กำไรทั้งจำนวน เสียภาษี 20 % เป็นแบบอัตราก้าวหน้า เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย1-150,000 บาทแรก ยกเว้นภาษี100,000 – 300,000 เสียภาษี 5%300,001 – 500,000 เสียภาษี 10%500,001 – 750,000 เสียภาษี 15%750,001 – 1,000,000 เสียภาษี 20%1,000,001 – 2,000,000 เสียภาษี 25%2,000,001 – 4,000,000 เสียภาษี 30%4,000,001 ขึ้นไป เสียภาษี 35%
การบันทึกบัญชีต้องจัดให้มีการทำบัญชีและการสอบบัญชีโดยผู้ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ (มีค่าใช้จ่ายในการทำบัญชีและการสอบบัญชี)หากเป็นการคิดค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย ไม่ต้องมีการจัดทำบัญชี แต่หากเป็นการคิดค่าใช้จ่ายตามจริงก็ต้องจัดให้มีการทำบัญชี
ความรับผิดของกิจการหากเป็นบริษัทผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบเท่าที่หุ้นที่ถืออยู่ หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนจะรับผิดชอบเท่าทีลงเงินไป ( ดูรายละเอียดในเรื่องบริษัทและห้างฯ เพิ่มเติม )ผู้เป็นเจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบไม่จำกัดวงเงิน
ความน่าเชื่อถือที่มีต่อบุคคลภายนอกจะได้รับความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจจากบุคคลภายนอกมากกว่า ดูเป็นทางการมากกว่าอาจจะมองดูว่าไม่มีความมั่นคง ไม่ใช่มืออาชีพเป็นการฉาบฉวย กลัวในเรื่องความรับผิดชอบ
3.หากจะเสียภาษีให้ประหยัดที่สุดควรเลือกจดแบบไหนดี
  ข้อพิจารณา หากกิจการของคุณคาดการณ์ได้ว่าจะมีกำไรเกิน 300,000 บาทต่อปี  หรือตอนนี้กำลังทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาอยู่แล้วกำไรสุทธิก่อนภาษีกำลังจะเกิน 500,000 บาท คุณควรเลือกที่จะจดทะเบียนเป็นแบบนิติบุคคล โดยมีทุนจดทะเบียนไม่ควรเกิน 5 ล้านบาทเพื่อให้เข้าเงื่อนไข SMEs